อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ป่าในเขตร้อนเกือบทุกชนิด คุณสามารถเห็นสัตว์เหล่านี้เดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้าทั้งช่วงกลางวันและกลางคืนได้ไม่ยาก อาจจะพบเห็นช่วงขณะขับรถยนต์ไปตามถนนหรือขณะเดินในเส้นทางศึกษาธรรมชาติก็ได้
นอกจากนี้ด้วยปัจจัยทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ประกอบกับสภาพแวดล้อมและอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศเฉพาะของอุทยาน ยังพบสัตว์สายพันธุ์พิเศษที่พบได้ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แห่งเดียวในโลกเท่านั้น คือ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานเขาใหญ่
สายพันธุ์ที่พบในอุทยาน คือ ช้างเอเชียพันธุ์อินเดีย (E. m. indicus) มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี มีความสูงประมาณ 2-4 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัม โดยปกติช้างจะกินพืชเป็นอาหารหลัก โดยกินอาหารประมาณ 200 กก. และกินน้ำประมาณ 200 ลิตร นอกจากนั้นยังกินดินโป่งเพื่อเสริมแร่ธาตุอาหารด้วย ในวันหนึ่งๆ ช้างจะใช้เวลาหากินมากถึง 16-18 ชั่วโมง
นักปรับตัวแห่งพงไพร
เป็นสัตว์ที่สามารถพรางตัวในธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ดี สามารถพบเห็นได้ในป่าหลากหลายชนิดที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะเป็นสัตว์ที่ไม่อาจทนต่อการอดน้ำได้นานนัก อาหารหลักคือใบไม้ หญ้า และดินโป่ง กระทิงจะเดินหากินสลับกับนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
นักปลูกป่าแห่งเขาใหญ่
ชะนีเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มวานร (Ape) ชนิดเล็กที่สุด อาศัยอยู่บนต้นไม้และกินผลไม้เป็นอาหารหลัก มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศในป่า ในฐานะผู้กระจายเมล็ดพันธุ์พืช ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่พบชะนี 2 สายพันธุ์ คือ ชะนีมงกุฏและชะนีมือขาว ซึ่งปกติชะนีทั้งสองชนิดนี้จะแยกกันอยู่ โดยมีอาณาเขตเป็นอิสระต่อกัน แต่ในพื้นที่ป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลกที่ชะนีทั้งสองชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ชะนีมือขาว | ชะนีมงกุฏ |
สัตว์จำพวกกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ที่มีในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ประมาณ 140 - 160 เซนติเมตร หนักประมาณ 185 - 220 กิโลกรัม ชอบกินใบไม้ และยอดอ่อนของพืชมากกว่าหญ้า และชอบกินดินโป่งมาก ปกติชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินตั้งแต่ตอนเย็นถึงเช้าตรู่ ส่วนกลางวันจะนอนในป่าที่รกทึบ ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จัดเป็นแหล่งดูกวางป่าที่ดีมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ง่าย ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงที่พวกมันพากันออกจากป่าทึบ เพื่อหากินตามทุ่งหญ้าโล่งชายป่า
นักปลูกป่าแห่งพงไพร
เนื่องจากนกเงือกมีจะงอยปากที่ใหญ่สามารถกินลูกไม้ที่มีขนาดใหญ่ได้ จึงเป็นนักปลูกต้นไม้ที่สามารถปลูกต้นไม้ในพื้นที่สูงได้โดยที่คนเราไม่สามารถขึ้นไปปลูกเองได้ นกเงือกที่สามารถพบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีถึง 4 ชนิด คือ นกกก นกแก๊ก นกเงือกกรามช้าง และนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว