นก

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นหนึ่งในแหล่งดูนกที่ดีที่สุดในประเทศไทย ด้วยขนาดผืนป่าที่กว้างใหญ่และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ จากการสำรวจ พบว่ามีนกอาศัยอยู่ที่นี่อย่างน้อย 280 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ จากการบันทึกของนิค อัพตัน (Nick Upton) จนได้รับการขึ้นทะเบียนบันทึกเป็น “พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก” (IBA - Important Bird Area)  

นกที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเงือก 4 ชนิด คือ นกเงือกกรามช้าง นกกก นกแก๊ก นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว นอกจากนี้ยังมี นกแขกเต้า นกกระเต็น นกพญาปากกว้างหางยาว นกสาลิกาเขียว นกขุนแผนอกส้ม ฯลฯ 

กิจกรรมดูนกในอุทยานจึงเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมจากนักดูนกทั่วโลก เพราะคุณจะได้สัมผัสธรรมชาติและได้ชมความสวยงามของนกชนิดต่างๆ อย่างใกล้ชิด แหล่งดูนกภายในอุทยานมีหลายบริเวณ เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ผากล้วยไม้ หนองผักชี และเขาเขียว 
 

นกเงือก

นกเงือก (Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ทั่วโลกพบทั้งหมดมี 52 ชนิด มีการแพร่กระจายในป่าเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชียเท่านั้น ในประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และบริเวณผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ สามารถพบนกเงือกได้ถึง 4 ชนิด ได้แก่ นกแก๊ก นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกเงือกสีน้ำตาลคอขาวล

นกแก๊ก หรือ นกแกง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthracoceros albirostris


เป็น 1 ใน 4 ชนิดของนกเงือกที่พบตัวได้บ่อยที่สุดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีลักษณะลำตัวสีดำ อกตอนล่างและท้องมีสีขาว รอบตาและมุมปากเป็นหนังสีขาว ปากและโหนกใหญ่สีขาวงาช้างถึงเหลืองอ่อน ขณะบินเห็นปีกดำขอบขาวจากด่านล่าง ใต้หางดำ ปลายหางขาว ตัวผู้มีแต้มสีดำด้านหน้าของโหนก ส่วนตัวเมียโหนกเล็กกว่า โหนกและปลายปากแต้มดำ โคนปากดำและน้ำตาลแดง เสียงร้อง แหลมและดัง “แก๊ก-แก๊ก-แก๊ก”จนเป็นที่มาของชื่อ

นกแก๊กตัวผู้.JPG นกแก๊กตัวเมีย.JPG

ตัวผู้

ตัวเมีย

บริเวณที่พบ

พบได้ทั้งป่าดงดิบและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ที่ราบถึงความสูง 1,400 เมตร

นกกก หรือ นกกะวะ หรือนกฮัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buceros bicornis

เป็นนกเงือกขนาดใหญ่ที่สามารถพบได้บ่อยในอช.เขาใหญ่ ปากและโหนกใหญ่สีเหลือง หน้าดำ คอขาวหรือขาวแกมเหลือง อกและลำตัวด้านบนดำ ปีกดำมีแถบสีเหลืองพาดกลางปีก ขอบขนปีกบินขาว หางขาวคาดดำ ตัวผู้ด้านหน้าของโหนกมีสีดำ ตาสีแดง ส่วนตัวเมียโหนกไม่มีสีดำ ตาสีขาว วงรอบตาแดง เสียงร้องดัง กก กก กก หรือ กาฮังๆๆ หรือ กะวะๆๆ จนเป็นที่มาของชื่อ

 

 

นกกกตัวผู้.JPG นกกกตัวเมีย.JPG

ตัวผู้

ตัวเมีย

บริเวณที่พบ

พบตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา หรือป่าเบญจพรรณ

นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู๋กี๋

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhyticeros undulatus

เป็นนกเงือกที่มีขนาดเล็กกว่านกกกเล็กน้อย พบได้ไม่บ่อยนัก ลักษณะมีโหนกเตี้ยเป็นลอนหยักบริเวณด้านบนของปาก ปากด้านข้างเป็นรอยหยัก ทั้งสองเพศต่างกัน เพศผู้มีถุงใต้คอสีเหลืองขีดดำสองข้าง เพศเมียมีถุงใต้คอสีฟ้า ลำตัวสีดำ หางมีสีขาว เสียงร้องดัง เอิก-เอิ๊ก เอิก-เอิ๊ก 
 

นกเงือกกรามช้างตัวผู้.jpg นกเงือกกรามช้างตัวเมีย.jpg

ตัวผู้

ตัวเมีย

บริเวณที่พบ

ป่าดงดิบ จากที่ราบจนถึงที่สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่อาจพบได้ในป่าเบญจพรรณด้วย

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anorrhinus austeni

เป็นนกเงือกชนิดที่พบตัวยากที่สุดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีลักษณะโหนกเล็ก ปากและโหนกสีน้ำตาลแกมเหลือง หนังรอบตาสีฟ้า ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีน้ำตาลแกมส้ม ปลายปีกแต้มขาว หางสีน้ำตาลปลายหางสีขาว ตัวผู้คอและอกตอนบนขาว ส่วนตัวเมียคอและอกสีน้ำตาล เสียงร้องแหลมและดัง "แอ๊-แอ๊ว หรือ แว้ว-แว้ว" อาศัยอยู่กันรวมกันเป็นฝูงเล็กๆ 

 


 

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาวตัวผู้.JPG นกเงือกสีน้ำตาลคอขาวตัวเมีย.JPG

ตัวผู้

ตัวเมีย

 

บริเวณที่พบ

ป่าระดับใต้เรือนยอด ทั้งป่าดงดิบและป่าผลัดใบ

นกแขกเต้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psittacula alexandri

เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง มีลักษณะหัวเทา หน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง คาง คอ และข้างแก้มดำเป็นแถบ ลำตัวบนเขียว อกชมพูแกมแดง ท้องเขียวแกมฟ้า ตัวผู้ปากบนแดงสด ปากล่างดำ ส่วนตัวเมียปากดำ มีเสียงร้องแหลม "แอ๊ก-แอ๊ก-แอ๊ก" หลายจังหวะและสำเนียง พบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ และสวนสาธารณะ อาหารหลักได้แก่ เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ และยอดไม้ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
 

ชะนีมือขาว07 693680 copy 8.png ชะนีมือขาว07 693680 copy 9.png

ตัวผู้

ตัวเมีย

 

บริเวณที่พบ

ป่าดงดิบ จากที่ราบจนถึงที่สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่อาจพบได้ในป่าเบญจพรรณด้วย

นกกระเต็นลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lacedo pulchella

เป็นนกที่พบได้ไม่บ่อยนักในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีลักษณะ ปากแดงสด หางยาว ตัวผู้ : หัวน้ำตาลเข้ม อกและท้องน้ำตาลแดงแกมเหลือง คอและกลางท้องขาว กระหม่อม หลัง และหางเป็นลายขวางสีดำสลับฟ้าสด ตัวเมีย : หัว หลัง และหางเป็นลายขวางสีน้ำตาลสลับกัน ลำตัวด้านล่างขาว อกและข้างลำตัวมีลายเกล็ดสีดำ ชอบอาศัยอยู่ในป่า มากกว่าแหล่งน้ำ เกาะนิ่ง ๆ เงียบ ๆ คอยมองหาหนอน แมลง หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เพื่อจับกินเป็นอาหาร
 

ชะนีมือขาว07 693680 copy 11.png ชะนีมือขาว07 693680 copy 10.png

ตัวผู้

ตัวเมีย

บริเวณที่พบ

ป่าดงดิบและป่าผลัดใบ  ที่ราบถึงความสูง 1,000 เมตร

นกพญาปากกว้างหางยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lacedo pulchella

หัวดำคล้ายใส่หมวกกันน็อกดูน่ารัก มีแต้มเหลืองข้างท้ายทอย หน้าและคอเหลือง ปากเหลืองแกมเขียว ขนลำตัวเขียว ขนปีกบิแกมสีฟ้า มีแถบกลมสีขาวที่ปีกเห็นชัดขณะบิน หางสีฟ้าสด เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ค่อนข้างบ่อย

บริเวณที่พบ

บริเวณลานกางเต็นท์ผากล้วยไม้ และตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติใน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

นกสาลิกาเขียว

นกสาลิกาเขียว เป็นนกในวงศ์นกกา (Corvidae) มีปากหนาสีแดงสด วงรอบตาสีแดงและมีแถบสีดำคาดเหมือนหน้ากาก บริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเหลือง ลำตัวด้านบนสีเขียวสด ใต้ท้องสีเขียวอ่อน ช่วงปีกตรงหัวไหล่เป็นสีเขียว ปลายปีกเป็นสีแดงเข้ม และตอนในของขนกลางปีกมีแถบสีดำสลับขาว ขาสีแดงสดใต้ หางมีสีดำสลับขาว และส่วนปลายหางจะเป็นสีขาว 
 

บริเวณที่พบ

ค่ายหมอบุญส่ง และทั่วไปในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

นกขุนแผนอกส้ม

ลักษณะเด่นคือ อกสีส้ม ไล่ลงไปเป็นสีเหลืองที่ก้น หัวสีเขียวไพล หลังและขนคลุมบนหางสีน้ำตาลแดง เพศผู้มีลายขาวสลับดำที่ปีก ส่วนเพศเมียมีลายสีดำสลับน้ำตาลอ่อน และมีหัวสีเขียวอมน้ำตาลมากกว่เพศผู้ นกขุนแผนอกสีส้มเป็นนกขุนแผนที่พบมากที่สุดในประเทศไทย มักเกาะสูง

บริเวณที่พบ

ค่ายหมอบุญส่ง

go to top